ใครๆ ก็สามารถเป็นนักลงทุนได้ แต่การจะเป็นนักลงทุนแบบมืออาชีพ ก็ต้องผ่านประสบการณ์ ความรู้ที่แน่นและเข้มข้นมาก ซึ่งนักลงทุนรุ่นใหม่ก็สามารถมาสร้างความเชี่ยวชาญด้านการลงทุนแบบมืออาชีพได้ที่ คณะเศรษฐศาสตร์และการลงทุน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ หลักสูตรเศรษฐศาสตร์เชิงประยุกต์ที่ปรับให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อให้น้องๆ เรียนรู้ได้ทันสถานการณ์ในปัจจุบัน สามารถนำความรู้ไปใช้ในการลงทุน เพื่อให้เกิดผลตอบแทนที่คุ้มค่า จากความเข้าใจและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ จะเป็นนักลงทุนมืออาชีพ ต้องเรียนรู้อะไรบ้าง ตามไปดูกัน

อยากเป็นนักลงทุนแบบมืออาชีพ จะต้องเรียนรู้ในหลักสูตรที่ปรับเปลี่ยนไปตามโลกปัจจุบัน “หลักสูตรเศรษฐศาสตร์เชิงประยุกต์” เรียนรู้ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่ประยุกต์ใช้ในการลงทุน หลักสูตรที่ตรงตามความต้องการของตลาดงานในยุคนี้ ซึ่งพัฒนามาจากความร่วมมือของพาร์ทเนอร์ ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น บล.ฟินันเซียไซรัส บล.ทรีนีตี้ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำให้สามารถวิเคราะห์แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน นโยบายการเงินการคลังของรัฐบาล เป็นต้น ความรู้ด้านเศรษฐกิจจะทำให้การลงทุน ของนักศึกษาง่ายขึ้น สามารถคาดการณ์และเข้าใจสถานการณ์การลงทุน เพื่อวางแผนการลงทุนให้เกิดผลตอบแทนสูงสุด

นอกจากหลักสูตรที่ปรับให้ทันสมัยอยู่เสมอ ความรู้แบบอัดแน่นและเข้มข้นที่จะได้รับ ก็ต้องมาจากอาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษ ตัวจริงจากวงการลงทุน เช่น คุณวิชัย พุทธาภิวัฒน์ Business Development Director Trinity Securities Co., ltd และ วิทยากรจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มาให้ความรู้เกี่ยวกับเทรนด์การลงทุนใหม่ๆแบบจัดเต็ม สร้างประสบการณ์ความรู้ และทริคการเรียนแบบใหม่ๆ ให้นักศึกษาสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น ถ้ามีข้อสงสัย แต่ไม่รู้จะไปปรึกษาใคร คณะอาจารย์ที่นี่ก็พร้อมให้คำแนะนำแบบใกล้ชิด สอบถาม และขอความช่วยเหลือได้ตลอดเวลา อบอุ่นสุดๆ

เพราะการเป็นนักลงทุนมืออาชีพจะต้องมีพื้นฐานภาษา เนื่องจากข้อมูลในการซื้อขาย และการลงทุน ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ การเรียนภาษาจากคณะเศรษฐศาสตร์ จะแตกต่างจากคณะอื่นๆ เพราะออกแบบมาเพื่อการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์ การเงิน หรือการลงทุน เช่น ศัพท์ทางเทคนิคที่ใช้ในการลงทุน ซื้อขาย นอกจากนี้ยังได้ฝึกสกิล Speaking จากการ Present ผลงานในคลาสเรียนอีกด้วย

สร้างความพร้อมก่อนลุยสนาม ฝึกฝนการลงทุนเสมือนจริงจากโปรแกรมจำลองการเล่นหุ้น สร้างความคุ้นเคยและความเข้าใจแบบละเอียดก่อนลงทุน เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่สุด นอกจากนี้ยังมี โครงการ Finansia HERO Stock Learning at BU จากบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) การแข่งขันเทรดหุ้นจำลองบนระบบซื้อขายในตลาดจริง ผ่านแอปพลิเคชัน Finansia HERO
แม้จะเป็นการจำลองการเล่นหุ้น แต่การแข่งขันนี้ก็ทำให้ผู้ชนะได้เงินจริงๆ นะ

ไม่ต้องกลัวว่า การเรียนที่นี่จะได้ความรู้ไม่ครบถ้วน จัดมาพร้อม ให้ได้เจอกับตัวจริงจากวงการการลงทุน ธุรกิจ การเงิน หรือแม้แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นพาร์ทเนอร์ที่ร่วมมือกับ ม.กรุงเทพ พัฒนาหลักสูตรเศรษฐศาสตร์และการลงทุนให้ครบและเต็มรูปแบบมากขึ้น พร้อมมาแชร์ประสบการณ์การการทำงานแบบล้วงลึก ร่วมพูดคุยและเปลี่ยนความรู้แบบใกล้ชิด สามารถนำมาปรับให้เข้ากับการลงทุนได้แบบไม่จำกัด

มืออาชีพที่แท้จริง จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ที่เป็นเครื่องการันตีว่า นักศึกษามีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และความเข้าใจ ในด้านนี้โดยตรง ที่คณะเศรษฐศาสตร์และการลงทุน ม.กรุงเทพ จะผลักดันให้นักศึกษาได้สอบใบประกอบวิชาชีพก่อนเรียนจบ เพื่อสร้างความพร้อมสำหรับการทำงานในอนาคต จบแล้ว ทำงานได้ทันที ไม่ต้องรอ

เมื่อโลกเกิดความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้มีวิชาใหม่ๆ เกิดขึ้น เพื่อรองรับการเรียนรู้แบบครอบคลุม และเสริมทักษะให้ครบทุกด้าน นักศึกษาจะได้เรียนวิชาใหม่ๆ ซึ่งไม่ได้มีแค่วิชาเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงวิชาที่มีโอกาสได้ใช้ในอนาคตแน่นอน เช่น วิชาการลงทุนใน DW วิชาการอบรมการเขียน Resume วิชาการอบรมพัฒนาบุคลิกภาพ เป็นต้น สร้างนักลงทุนมืออาชีพ ให้มีความเชี่ยวชาญในทุกๆ ด้าน

เพราะการเรียนรู้แค่ทฤษฎีอาจไม่พอ นักลงทุนมืออาชีพจะต้องได้ลองสนามจริง เพื่อสร้างประสบการณ์ในด้านต่างๆ เปิดโลกการฝึกภาคปฏิบัติด้วยการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการแข่งขันโดยการเรียนรู้นอกห้องเรียน และฝึกฝนการแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง พร้อมสร้างโอกาสในการได้รางวัลการันตี ถือว่ามีประโยชน์มาก เพราะสามารถ สร้างเป็น Portfolio ใช้ยื่นทำงานในอนาคตได้
ผลงานจากรุ่นพี่
- รางวัลและทุนการศึกษาการแข่งขันเทรดหุ้นจำลองในโครงการ Hero Stock Learning at BU
- Speexx Travel Award ทัศนศึกษา ณ ประเทศสิงคโปร์
- โครงการแข่งขันการประกวดเทรดหุ้นจำลองโดย บล. Finansia Syrus จำกัด (มหาชน)
- การประกวดแผนธุรกิจ โครงการฟาร์มสามารถ : Smart Farming (ร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และ สมาคมคนพิการ จ.ปทุมธานี)