Featured Stories
ข่าวสารและบทความ — คณะมนุษย์ฯ จัดโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่สร้าง “นักออกแบบประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร” ยกระดับท้องถิ่นสู่สากล
คณะมนุษย์ฯ จัดโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่สร้าง “นักออกแบบประสบการณ์
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร”
ยกระดับท้องถิ่นสู่สากล

คณะมนุษยศาสตร์และการจัดการการท่องเที่ยว (HTM) ร่วมกับ เครือข่ายวัฒนธรรมอาหารแห่งประเทศไทย จัดหลักสูตร “Integrated Smart Gastronomy Design: เติมความรู้สู่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารอย่างยั่งยืนแบบอิ่มรู้ชูถิ่นฐาน” ภายใต้โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิต ประเภทประกาศนียบัตร (Non-Degree) โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

หลักสูตรนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้เชิงลึกและทักษะที่จำเป็นแก่ผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร โดยมุ่งเน้นการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการที่มีความแตกต่าง มีอัตลักษณ์ และสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนเป็นการสนับสนุนยุทธศาสตร์การผลักดัน Soft Power ด้านอาหารไทยสู่ระดับสากล

ตลอดระยะเวลาการอบรม ผู้เข้าร่วมจำนวน 40 คน ได้รับการเรียนรู้รวมทั้งสิ้น 285 ชั่วโมง ผ่านการเรียนการสอนที่ครอบคลุมทั้งในชั้นเรียน การฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการ และการเรียนออนไลน์ จาก Master ได้แก่ ผศ.ดร.จุฑามาศ วิศาลสิงห์ ประธานเครือข่ายวัฒนธรรมอาหารแห่งประเทศไทย คุณอรุษ นวราช กรรมการผู้จัดการสวนสามพราน และนายกสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย คุณภานุภน บุลสุวรรณ (เชฟแบล็ค) เชฟและผู้ก่อตั้ง Blackitch Artisan Kitchen คุณไอริณ
ทวีเกื้อกูลกิจ ผู้ก่อตั้ง Taste Inc Asia และ Chim Thai คุณกฤษฎากร สุขมูล ผู้กำกับภาพยนตร์อิสระ คุณกฤษดา สุโกศล แคลปป์ Founder & Creative Director, The Siam Hotel ดร.ดารณี อาจหาญ อาจารย์และ Food Stylist และ รศ.ดร. อินทาวุธ สรรพวรสถิตย์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน Flavor Innovation & Sensory


โดยหลักสูตรมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะการออกแบบประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร ผ่านการบูรณาการองค์ความรู้ด้าน วัฒนธรรม วิถีชีวิต และแนวคิดการท่องเที่ยวยั่งยืน เพื่อสร้างสรรค์ประสบการณ์ที่มีคุณค่าและแตกต่าง ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของ Gastronomy Tourism

องค์ความรู้ ทักษะ และแรงบันดาลใจ ที่ผู้เข้าร่วมได้รับจากการอบรมครั้งนี้ ถือเป็นพลังสำคัญในการยกระดับอาหารไทยและอัตลักษณ์ท้องถิ่น ผ่านบทบาทของการเป็น “นักออกแบบประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร” ที่สามารถนำความรู้ไปต่อยอดสู่การพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ ตอบโจทย์เศรษฐกิจยุคใหม่ และก้าวสู่การเป็นที่ยอมรับในระดับสากลอย่างมั่นคงและยั่งยืน
หัวข้อการเรียนรู้ที่สำคัญของหลักสูตรประกอบด้วย
Sustainable Food Experience Design และ Farming Experience and Farm Visit ณ Patom Organic Farm และ RXV Wellness Village


Community-Based Development (Home Cooked and Local Recipe) and Food Culture Design (Boutique Hotel and Local Awake) ณ The Raweekanlaya Bangkok Wellness Cuisine Resort



Food Gift Makeover and Marketing ณ Phenix Food Wholesale Hub


Food Innovation and Creativity ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง


Sustainable Food and Culinary: Best Practices ณ The Siam Hotel


พิธีมอบใบประกาศนียบัตรแก่ผู้ผ่านการอบรมจำนวน 40 คน อาจารย์เจิมสุดา มานะกุล คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และการจัดการการท่องเที่ยว เป็นผู้มอบใบประกาศนียบัตร พร้อมร่วมกล่าวแสดงความยินดี การจัดอบรมในครั้งนี้นับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนกำลังคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพด้านวัฒนธรรมอาหาร รองรับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจยุคใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วย Soft Power และคุณค่าท้องถิ่น อันจะนำไปสู่การยกระดับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยในเวทีระดับสากลอย่างยั่งยืน


แห่งการเรียนรู้
ไปกับ
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ให้เราช่วยเลือกหลักสูตร คณะ สาขาหรือต้องการติดต่อกับเรา
ข้อมูลการศึกษา
ข้อมูลการสมัคร
ติดต่อมหาวิทยาลัย