Featured Stories
ข่าวสารและบทความ — 7 สายงาน Film Production คณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์
อยากเป็นตัวจริงในวงการภาพยนตร์และอุตสาหกรรมบันเทิงต้องที่สาขาภาพยนตร์ คณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์ - School of Digital Media & Cinematic Arts หลักสูตรที่ทันสมัยพร้อมฝึกปฏิบัติกับผู้เชี่ยวชาญในวงการและอุปกรณ์อย่างมืออาชีพ เพื่อรู้ลึก รู้จริงในโลกภาพยนตร์ โดยแบ่งออกเป็น 4 สายหลักนั่นก็คือ สาย Film Production / Film & Screen Media Business / Film Studies & Alternative Filmmaking และ Acting For Screen คลาสเรียนที่เหมือนยกอุตสาหกรรมมาไว้ในห้อง ได้สร้าง connection กับผู้สอน และเพื่อน พี่ น้องในคณะฯ พร้อมก้าวเข้าสู่วงการได้แบบมืออาชีพ
สำหรับใครที่สนใจสาย Film Production จะมีทั้งหมด 7 ความถนัดเฉพาะด้าน จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย
งานส่วนแรกคือการพัฒนาโปรเจค (Development) จนได้รับไฟเขียว (Green Light) ให้สร้าง ตำแหน่งสำคัญของส่วนนี้ก็คือ คนที่ทำหน้าที่เขียนบท ซึ่งจะได้เรียนตั้งแต่การรู้ว่าอุตสาหกรรมกำลังมองหาอะไรในบท การคิด Concept, Theme ที่ร่วมสมัย การหาข้อมูล (Research) การเล่าเรื่องเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์ กำหนดสถานที่ และเวลา (Space&Time) การพัฒนาคาแรคเตอร์ตัวละคร การปั้นบทสนทนาในฉากต่างๆให้กลมกล่อม เหมาะกับประเภทของงาน นั่นเอง ใครที่สนใจการเขียนบท ไม่ว่าจะเป็นการเขียนบทซีรีส์หรือภาพยนตร์ ก็สามารถเลือกเรียนเอกนี้ของสาขา ภาพยนตร์ได้เลยนะ
ภาพรวมภาพยนตร์จะออกมาเป็นยังไงก็ต้องผ่านฝีมือของคนที่ทำตำแหน่งนี้ นั่นก็คือ ผู้กำกับ (Director) หรือคนที่ดูภาพรวม กำหนดทิศทางงานทุกขั้นตอน ในการสร้างภาพยนตร์ตั้งแต่ Pre-Production / Production /Post-Production ตั้งแต่การดูแลบทภาพยนตร์ว่ามีส่วนใดต้องปรับแก้ นักแสดงที่แคสต์มา เหมาะสมกับบทที่สุดรึยัง งานที่หน้าเซตกองถ่ายก็ต้องทำงานกับฝ่ายต่างๆ ทั้ง Producer ผู้กำกับภาพ นักแสดง ผู้กำกับแสง คอสตูม และฝ่ายเทคนิคต่างๆ ตลอดจนฝ่ายตัดต่อ เสียง ที่อยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของการผลิตภาพยนตร์ เรียกได้ว่าเป็นผู้ที่คอย “เคาะ” องค์ประกอบต่างๆ เพื่อให้ภาพยนตร์ออกมา สมบูรณ์และเรียบร้อยที่สุด
ใครที่เลือกความสนใจทางด้านนี้ จะได้เรียนรู้ทักษะของการบริหารจัดการกอง ตั้งแต่ขั้น Production Planning ได้เรียนรู้การทำตารางการถ่ายทำ ตารางงบประมาณ ได้ลองออกกองลงมือจัดการกองถ่ายกันจริงๆ กองถ่ายจะเรียบร้อยหรือไม่ ทีมงานจะอยู่ดีมีสุขแค่ไหน ขึ้นอยู่กับตำแหน่งนี้เลย โดยทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลในกระบวนการทำงาน การประสานงานระหว่างผู้กำกับ กับ ทีมงาน เพื่อจัดการงบประมาณ จัดตารางการทำงานได้อย่างราบรื่น เป็นสิ่งสำคัญที่นักศึกษาควรมี ตำแหน่งงาน ที่รองรับ มากมายหลากหลาย อาทิ Line Producer / Unit Production Manager / Foreign Film Production Coordinator
เนรมิตความสมจริง ฉาก เสื้อผ้า หน้าผมตระการตา สายงานออกแบบงาน สร้างและกำกับศิลป์เป็นคนที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์และการค้นคว้าข้อมูลขั้นสุดในการออกแบบและตกแต่งฉาก การใช้สีของเสื้อผ้านักแสดง อุปกรณ์ประกอบ ฉากในสถานที่ต่างๆ ซึ่งบางเรื่องอาจมีการใช้การแต่งหน้าสเปเชียลเอฟเฟกต์ เช่น เลือด แผล ให้กับตัวละครเพื่อความสมจริงของเหตุการณ์ตามที่ ผู้กำกับต้องการ โดยทำงานร่วมกับผู้กำกับภาพ ผู้กำกับ รวมถึงฝ่ายเทคนิค ต่างๆ สำหรับใครที่สนใจสายนี้ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ ชื่นชอบด้านศิลปะ และหาไอเดียแปลกใหม่อยู่ตลอดเวลา
ทุกเฟรมของภาพยนตร์ถูกถ่ายทอดออกมาจากฝีมือของ ผู้กำกับภาพ (Director of Photography) โดยมีหน้าที่ดูแลเรื่องภาพทั้งหมด ได้การใช้ขนาดภาพ การเลือกมุมภาพ การเคลื่อนไหวของกล้อง โดยต้องทำงานร่วมกับผู้กำกับ เพื่อให้ได้ภาพที่ตรงกับDirection ที่สุด ช่างภาพ (Camera Operator) ที่ควบคุมอุปกรณ์กล้องอีกที ฝ่ายแสงที่ควบคุมทิศทางและลักษณะของแสง รวมไปถึงฝ่ายเทคนิคด้านอุปกรณ์ถ่ายทำทุกอย่างในกองถ่าย เพื่อให้ภาพต่างๆ ที่เกิดขึ้นถูกถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกของตัวละครในเหตุการณ์แต่ละฉากที่แตกต่างกันออกไป โดยคนที่ทำหน้าที่กำกับภาพจะเป็นอีกคนที่มีส่วนสำคัญ มากๆ หน้าเซตกองถ่ายกับผู้กำกับภาพยนตร์ในเวลาถ่ายทำ
มาถึงด่านท้ายๆ ของการทำภาพยนตร์แล้ว นั่นก็คือ การตัดต่อหรือลำดับภาพ (Editing) ซึ่งเป็นขั้นตอนหลังการถ่ายทำภาพยนตร์ (Post Production) ผู้ลำดับภาพมีหน้าที่ตัดต่อให้เล่าเรื่องราวตามบท อารมณ์ หรือสิ่งที่ผู้กำกับ ต้องการในแต่ละฉาก ไม่เพียงเท่านั้น ตำแหน่งนี้ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ กล้าทดลองหาวิธีการเล่าเรื่องที่น่าสนใจ รู้ว่าการแสดงเทคไหนดีหรือไม่ดี สามารถเพิ่มลูกเล่นต่างๆ ให้น่าสนใจ ทั้งกำหนดจังหวะ ปรับแต่งโครงสร้าง ของเรื่อง เปรียบเสมือนกับการปรุงอาหารให้กลมกล่อม อร่อย และโดนใจคนดู นักศึกษาจะได้เรียนรู้เทคนิคการลำดับภาพ รวมไปถึงการใช้เทคนิค Color Grading เพื่อให้สีของภาพเป็นไปตาม Mood&Tone ของหนังแต่ละประเภท
ความสมบูรณ์แบบของทุกเสียงที่เราได้ยินในภาพยนตร์มาจากฝีมือของฝ่ายนี้ สำหรับผู้บันทึก ผสม และออกแบบเสียง (Sound) มีหน้าที่ คอยดูแลเรื่อง เสียงที่เกิดขึ้นทั้งหมดในภาพยนตร์ เพื่อช่วยถ่ายทอดความรู้สึกของตัวละครและเหตุการณ์ต่างๆ ในภาพยนตร์ เช่น การทำเสียงเอฟเฟกต์ต่างๆ การบันทึกเสียงพูดของตัวละครช่วงการถ่ายทำ ไปจนถึงการทำเพลงประกอบภาพยนตร์
แห่งการเรียนรู้
ไปกับ
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ให้เราช่วยเลือกหลักสูตร คณะ สาขาหรือต้องการติดต่อกับเรา
ข้อมูลการศึกษา
ข้อมูลการสมัคร
ติดต่อมหาวิทยาลัย