ระยะเวลาหลักสูตร: 2 ปี (4 ภาคการศึกษา ไม่มีภาคฤดูร้อน)
จำนวนหน่วยกิต: 36 หน่วยกิต (เป็นวิทยานิพนธ์ทั้งหมด)
รายวิชาที่ต้องลงทะเบียนเรียน (ไม่นับหน่วยกิต)
- ระเบียบวิธีการวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาการข้อมูล (Research Methodology in Information Technology and Data Science)
- สัมมนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาการข้อมูล (Seminars in Information Technology and Data Science)
ตัวอย่างหัวข้อวิทยานิพนธ์: Data Mining, Text Mining, Data Analytics, Cybersecurity, IoT Applications, Business Analytics, Social Network Monitoring and Listening, Games and Interactive Media, Natural Language Processing, Mobile Networking, Artificial Intelligence, Game Analytics, Peer to Peer Network and Applications, Health Informatics, and Other Related Topic
ทำไมต้องเรียนสาขานี้
- หลักสูตรทันสมัย ตอบโจทย์ในทุกการเรียนการสอน พร้อมรองรับ ทุกสถานการณ์
- เน้นการทําวิจัยเป็นหลัก (Research-based) มุ่งหมายให้นักศึกษา สามารถคิด วิเคราะห์งานวิจัยและการนําเสนอผลงานวิจัยอย่างเป็นระบบ
- เรียนกับอาจารย์ผู้สอนมีความเชี่ยวชาญทั้งด้านวิชาการ และมี ประสบการณ์ในวงการไอทีในด้านต่างๆ ที่พร้อมให้คําปรึกษาตลอดระยะเวลาในการเรียนที่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
- ออกแบบวันและเวลาเรียนรวมกับอาจารย์ที่ปรึกษา
- เหมาะสําหรับผู้ที่ทํางานแล้ว สามารถทํางานไปด้วยเรียนไปด้วยได้
- มีความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมและมหาวิทยาลัยต่างประเทศ
- เรียนเสริมพื้นฐานและวิชาการวิจัยแบบตัวต่อตัว
- บุคลากรที่สําเร็จจากสาขานี้จะมีทักษะด้านการวิจัยการจัดการข้อมูล จะได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางและเป็นที่ต้องการมากในธุรกิจและตลาดแรงงาน
- นักศึกษาในหลักสูตรนี้จะศึกษาและทําวิจัยจริงร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับคณาจารย์จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และนวัตกรรม และผู้เชี่ยวชาญจากสถานประกอบการ
- เปิดรับหัวข้อวิจัยที่หลากหลาย
- มีโอกาสได้ทํางานวิจัยร่วมกับบริษัทชั้นนําในอุตสาหกรรม
- อาชีพตอบโจทย์อนาคต เป็นที่ต้องการของตลาดงาน เป็นหลักสูตรที่พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถทั้งในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาการข้อมูล
ปริญญาโทของคนด้านไอที ตอบโจทย์ยุคใหม่
ทำอาชีพอะไร
- นักวิทยาการข้อมูล (Data Scientist)
- สถาปนิกข้อมูล (Data Architecture)
- นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst)
- นักวิเคราะห์ธุรกิจ (Business Analyst)
- ผู้เชี่ยวชาญข่าวกรองธุรกิจ (Business Intelligence specialist)
- ผู้เชี่ยวชาญความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity Specialist)
- นักบริหารระบบสารสนเทศและเครือข่าย (Information Technology System and Network Manager)
- ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Consultant)
- นักวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Professional)
- ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Entrepreneur)
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาการข้อมูล
โดยเป็นการทําวิทยานิพนธ์ทั้งหมด นักศึกษาที่ไม่มีพื้นฐานการทําวิจัย จะต้องลงทะเบียนเรียนวิชาเสริมพื้นฐานบางรายวิชา รวมทั้งต้องเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการต่าง ๆ เช่น การประชุมวิชาการ การสัมมนาทางวิชาการ หรืออื่น ๆ ตามคณะกรรมการกําหนด
วิชาเสริมเรียนพื้นฐาน
ทศว. 161 ระเบียบวิธีการวิจัยด้านเทคโนโลยี
ITD 161: Research Methodology in Information Technology and Data Science
ทศว.162 สัมมนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ITD 162: Seminars in Information Technology and Data Science