สำหรับใครที่เป็นสายหลงใหลงานด้านการผลิตสื่อประเภทเสียง สาขาสื่อดิจิทัล คณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์ - School of Digital Media & Cinematic Arts ตอบโจทย์น้องๆ ที่มีความถนัดและอยากเป็น #เด็กSound สามารถเลือกเรียนสายการผลิตเสียงและดนตรีสำหรับสื่อดิจิทัล (Sound and Music Production for Digital Media) โดยจะได้เรียนทุกกระบวนการของการผลิตเสียง เช่น เสียงในงานภาพยนตร์ ซีรีส์ แอนิเมชัน โฆษณา ดนตรี หรือสื่อคอนเทนต์ออนไลน์ต่างๆ ทั้งเสียงที่เกิดขึ้นจริงและเสียงที่ดีไซน์ใหม่ ใครที่สนใจอยากทำงานในวงการการผลิตสื่อ สาขานี้ต้องไม่พลาด

เด็ก Sound หรือการออกแบบเสียงสำหรับภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล คือหนึ่งทางเลือกสายความถนัดในสาขาสื่อดิจิทัล คณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์ สายนี้จะเน้นการสร้างสรรค์งานเสียง รู้เทคนิควิธีการผลิตด้วยอุปกรณ์และเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้เรียนการสร้างเสียงและดนตรีประกอบ ตัดแต่งเสียงเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมบันเทิงครบทุกด้าน และมีห้องปฏิบัติการ Computer Lab อุปกรณ์การสร้างเสียง เครื่องดนตรี พร้อมซับพอร์ตนักศึกษาได้ลงมือผลิตงานจริง เมื่อเรียนสายนี้แล้ว สามารถใช้ทักษะไปต่อยอดกับงานผลิตเสียงได้ทุกประเภท

งานเสียงที่เราเคยได้ยินตามสื่อโฆษณาหรือเสียงเอฟเฟกต์ในภาพยนตร์เรื่องต่างๆ ล้วนแล้วมาจากผลงานการดีไซน์ของคนที่ทำงานสายนี้ ซึ่งจะได้เรียนครบทุกด้านของงานผลิตเสียงเพื่อธุรกิจในอุตสาหกรรมบันเทิง อย่างเช่น การสร้างดนตรีประกอบในงานแอนิเมชั่น ซีรีส์ โฆษณา เกมคอมพิวเตอร์ การสร้างเสียงเอฟเฟกต์ เสียงบรรยากาศ การบันทึกเสียงในสตูดิโอ การออกแบบระบบเสียงในโรงภาพยนตร์ รวมไปถึงสื่อดิจิทัลทุกแพลตฟอร์ม เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีวิชาที่มีความน่าสนใจที่พร้อมจัดเต็มให้นักศึกษาที่เลือกเรียนสายการผลิตเสียงด้วย ยกตัวอย่าง เช่น
- วิชาทฤษฎีดนตรีและพื้นฐานการเขียนเพลง (Music Theory And Basic Song Writing) เจาะลึกทฤษฎีคนตรี วิธีการแต่งบทเพลงเบื้องต้น ฝึกวิเคราะห์ผลงานเพลงในอดีตถึงปัจจุบัน
- วิชาเทคนิคการผสมเสียง และ เทคนิคการผสมเสียงขั้นสูง (Mixing Techniques,Advance Mixing Techniques) ฝึกปฏิบัติผสมเสียงเพื่อสื่อดิจิทัล โดยเฉพาะระบบเสียงรอบทิศทาง การออกแบบในโรงภาพยนตร์
- วิชาเทคนิคการประพันธ์ดนตรีประกอบภาพยนตร์ (Film Music Composition) เรียนรู้เทคนิคการประพันธ์ดนตรีประกอบภาพยนตร์ การสร้างดนตรี ตัวละครและอารมณ์ชนิดต่างๆ
- วิชาเทคโนโลยีการบันทึกเสียง (Recording Technology) เรียนรู้ทฤษฎีการบันทึกเสียง และ พื้นฐานของการเป็น sound engineer และทดลองการใช้ mixing console,microphone จนไปถึงการใช้ studio
- วิชาการเสริมคุณภาพเสียง (Sound Reinforcement) สำหรับน้องๆที่สนใจทางด้าน Live Sound Engineer วิชานี้เราจะศึกษาการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ประมวลผลทางเสียงต่างๆ การวางระบบเกี่ยวกับเสียงและเทคนิคการวางระบบเสียง

เรียนสายนี้ขอบอกเลยว่าไปที่ไหนก็ทำงานได้ทุกอย่าง เพราะสามารถปรับใช้ตามประเภทของงานด้านนั้นๆ และมีโอกาสทำเงินได้เพิ่มมากขึ้น ยิ่งทำได้มากและมีความสามารถเฉพาะตัวก็จะยิ่งได้ค่าตอบแทนเพิ่มขึ้น จะรับเป็นฟรีแลนซ์ทำให้บริษัทโปรดักชั่นเฮาส์หรือ Agency โฆษณาก็ได้
ตัวอย่างอาชีพสายงานการผลิตเสียง
- Music Producer
- Sound Designer
- Sound Engineer
- Film Composer
- Foley Artists