ในยุคที่มีการใช้งานสื่อสตรีมมิ่งมากขึ้น เห็นได้ว่าอุตสาหกรรมการทำงานกำลังปรับตัวเข้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์และการสตรีมมิ่ง มีความสำคัญมากขึ้น รูปแบบวิธีการนำเสนอมีความหลากหลาย เน้นการจับประเด็นเหตุการณ์ สร้างคอนเท้นต์ให้น่าสนใจ เจาะลึกใน หลากหลายวงการ และการทำโปรดักชั่นสอดคล้องกับแพลตฟอร์มออกอากาศและกลุ่มเป้าหมาย
สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และการผลิตสื่อสตรีมมิ่ง ทันสมัยและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในโลกในปัจจุบัน ไม่เพียงแต่จะเน้นการศึกษาด้าน Broadcasting ในรูปแบบการเรียนที่หลากหลายแล้ว แต่ยังเน้นการผลิตรายการที่หลากหลายตามความถนัดและความสนใจของนักศึกษา ทำให้นักศึกษามีทักษะการทำงานในยุคที่สื่อมีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย นอกจากนี้ยังเสริมการผลิตเนื้อหาการผลิตสื่อที่หลากหลาย เพื่อรองรับการผลิตรายการทั้งละคร ซีรีส์ และรายการข่าวออนไลน์ สร้างผลงานตอบโจทย์การผลิตสื่อทุกแพลตฟอร์ม สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และรองรับความเป็นสากล
ทำไมต้องเรียนสาขานี้
- เน้นการผลิตคอนเทนต์ใหม่ๆ ผ่านสื่อสตรีมมิ่งทุกรูปแบบ
- มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการเรียนการสอน
- รายวิชาเน้นปฏิบัติทางด้านการผลิตทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อสตรีมมิ่ง
- ใช้ทักษะผสมผสานของแพลตฟอร์มที่หลากหลาย รู้จักมุมมองเชิงการตลาด และเข้าใจกลุ่มผู้ชม ได้รับความรู้ครบทุกด้านสำหรับผลิตสื่อในยุคดิจิทัล ทั้งการผลิตสื่อวิทยุโทรทัศน์แบบดั้งเดิม และการผลิตสื่อสตรีมมิ่ง
- เพิ่มทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล Big Data เพื่อให้นักศึกษาสามารถสร้างสรรค์เนื้อหาและวิธีการสื่อสาร ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ
- ได้เรียนกับอุปกรณ์ทันสมัยในทุกแพลตฟอร์มเทียบเท่าวงการวิชาชีพ รองรับการทำงานได้จริงทั้งในหลักสูตร งานประกวดของนักศึกษา เพื่อสามารถพัฒนาทักษะการผลิตในอุตสาหกรรมสื่อได้
- พันธมิตรชั้นนำ มีชื่อเสียงระดับประเทศ
- นักศึกษาได้ผลิตผลงาน และทำกิจกรรมในชั้นเรียน เพิ่มทักษะการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ
- มีเครือข่ายศิษย์เก่าประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมวิชาชีพ
- การสร้างสรรค์ผลงานของนักศึกษารองรับรูปแบบการผลิตในหลากหลายมิติ ทั้งรายการวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อสตรีมมิ่ง สามารถผลิตได้ทั้งภายในสตูดิโอ และภายนอก รวมไปถึงการ LIVE streaming ในงานหรือกิจกรรม
- สร้างสรรค์เชื่อมโยงกับ Partnership ในระดับนานาชาติ เพื่อพัฒนาทักษะภาษา และเข้าใจทิศทางการผลิตและการตลาดในบริบทที่แตกต่าง
stories
ทำอาชีพอะไร
เรียนจบแล้วมีโอกาสได้งานทำสูง เรียนกับอุปกรณ์จริงในระดับอุตสาหกรรม พร้อมทำงานจริงก่อนเรียนจบ บัณฑิตที่เชี่ยวชาญด้านนิเทศศาสตร์จึงเป็นที่ต้องการของตลาดงานทั้งในและต่างประเทศ
- เจ้าของรายการทางสื่อสตรีมมิ่ง (YouTuber)
- ผู้ควบคุมการผลิตรายการทางพอดแคสต์ (Podcast Program Producer)
- ผู้ควบคุมการผลิตรายการทางวิทยุกระจายเสียง (Radio Program Producer)
- ผู้ควบคุมการผลิตรายการ (Broadcasting and Streaming Program Producer)
- ผู้เขียนบท (Script Writer)
- ผู้กํากับเวที (Stage Director)
- นักแสดง (Actor / Actress)
- ผู้กํากับภาพ (Director of Photography)
- ผู้ฝึกสอนการแสดง (Acting Coach)
- ผู้ดําเนินรายการทางสื่อสตรีมมิ่ง วิทยุ โทรทัศน์ (Program Host)
- ผู้กํากับรายการสื่อสตรีมมิง (Program Director)
- ผู้ออกแบบสร้างสรรค์งานผลิตรายการ (Production Designer)
- ผู้ออกแบบงานกราฟิกทางบรอดแคสติ้งและสื่อสตรีมมิ่ง (Television Graphic Designer)
- ผู้สื่อข่าวทางสื่อสตรีมมิ่ง (Streaming Media News Reporter)
รวมถึงสายอาชีพใหม่ๆ ซึ่งเป็นทักษะที่ตลาดงานต้องการ
- Creative Marketing
- Content Storyteller
- Critic
- Streaming Provider
สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และการผลิตสื่อสตรีมมิ่ง
การออกแบบเสียงและดนตรี (Sound and Music Design)
การผลิตรายการพอดแคสต์และรายการสด (Podcast & Live Production)
การผลิตเนื้อหาสร้างสรรค์สำหรับงานเสียงและดนตรี (Creative Content for Sound and Music)
การผลิตรายการบนยูทูป (YouTube Production)
การผลิตสื่อ (VR / AR) Virtual Reality and Augmented Reality for Media Production
การออกแบบฉาก (Set Design)
การแสดงและกำกับการแสดงละครโทรทัศน์ (Acting and Directing for TV Drama)
การพัฒนาบท (Script Development)
การผลิตละครโทรทัศน์ (TV Drama Production)
กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน ด้านการรายการข่าวออนไลน์ เพื่อเป็นช่องทางในการทำงานสำหรับสายงานด้านข่าวเพิ่มมากขึ้น
- เทคนิคการหาข่าวเชิงสืบสวน (Investigative Techniques)
- วารสารศาสตร์มือถือ (Mobile Journalism)
- การสร้างบล็อกและวล็อกด้านไลฟ์สไตล์ (Blog and Vlog for Lifestyle)