สายบริหาร อยากเรียนต่อในคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ อยากเป็นมากกว่านักบริหารทำได้หรือไม่? ที่นี่มาพร้อมหลักสูตรที่ทันสมัย และครอบคลุมทุกด้านของการบริหาร มีสาขาที่ตอบโจทย์ความต้องการถึง 8 สาขา เรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริง เพื่อเตรียมพร้อมสู่อาชีพในอนาคต เรียนบริหารที่เป็นมากกว่านักบริหาร จะมีอาชีพอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
สาขาวิชาการจัดการ หลักสูตรที่จะทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้หลักบริหารธุรกิจครอบคลุมทุกด้าน เข้าใจในการบริหารจัดการธุรกิจและการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อช่วยในการวางแผนและบริหารกลยุทธ์ให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ มีโอกาสฝึกทำธุรกิจจริง พร้อมการเรียนรู้ในสถานที่จริงจากองค์กรชั้นนำ
สายอาชีพที่เกี่ยวข้อง
- ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจ สร้างธุรกิจของตนเองตามความฝันและบริหารจัดการให้องค์กรประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
- นักวิเคราะห์ธุรกิจ มีหน้าที่วิเคราะห์ปัญหาหรือวิเคราะห์ข้อมูลภายในองค์กร เพื่อนำข้อมูลนั้นไปปรับปรุงหรือตอบสนองกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น
- นักบริหารและจัดการกลยุทธ์ คือผู้นำด้านการจัดการและการบริหารฝ่ายต่างๆ ในองค์กร เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จ มีหน้าที่วางแผนและบริหารทั้งตัวบุคคลและองค์กรให้เป็นระบบและประสบความสำเร็จ
- ผู้ประเมินผลิตภัณฑ์ ควบคุมคุณภาพของสินค้าภายในองค์กร ให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่วางไว้
- ที่ปรึกษาขององค์กร คือผู้ให้คำปรึกษาขององค์กร เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน สามารถให้คำปรึกษาได้อย่างดี วิเคราะห์อย่างมีหลักการ พร้อมมีแผนรองรับอยู่เสมอ
- นักวางแผนพัฒนาธุรกิจด้านผลิตภัณฑ์ ปรับเปลี่ยนพัฒนาองค์กรแบบไม่หยุดนิ่ง พัฒนาทั้งผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมให้เข้ากับยุคสมัย และตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ ศึกษาข้อมูลการทำธุรกิจระหว่างประเทศอย่างเป็นระบบ เข้าใจและรับมือกับคู่แข่งในโลกธุรกิจได้ และเรียนรู้การทำธุรกิจจากองค์กรต่างประเทศ มีโอกาสฝึกงานกับองค์กรชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเก็บประสบการณ์จากมืออาชีพ พร้อมอาจารย์ที่เชี่ยวชาญในแวดวงธุรกิจโดยตรง
สายอาชีพที่เกี่ยวข้อง
- นักธุรกิจนำเข้า-ส่งออก ทำหน้าที่ดูแลกระบวนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ หรือส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ ตั้งแต่การติดต่อกับลูกค้า การประสานงานกับคู่ค้า การจัดการกับเอกสารที่เกี่ยวข้อง พิธีการศุลกากร โลจิสติกส์ การเรียกเก็บและชำระเงิน ไปจนถึงการวิเคราะห์สภาพตลาดต่างประเทศเพื่อแสวงหาโอกาสการเติบโตทางธุรกิจ
- นักบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ ทำหน้าที่วางแผนกลยุทธ์และจัดการกิจกรรมต่าง ๆให้กับองค์กรธุรกิจข้ามชาติ เช่น จัดการดูแลทรัพยากรบุคคลระหว่างประเทศ สร้างวัฒนธรรมองค์กรเพื่อให้บุคลากรจากหลากหลายวัฒนธรรมสามารถทำงานร่วมกันได้ วางแผนการตลาดระหว่างประเทศ วิจัยธุรกิจระหว่างประเทศ เป็นต้น ตลอดจนการทำงานในหน่วยงานภาครัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายการค้าระหว่างประเทศ และกิจกรรมการส่งเสริมหรือสนับสนุนผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก
- เจ้าของธุรกิจระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการขยายธุรกิจครอบครัวจากระดับภายในประเทศสู่ระดับสากล การสร้างธุรกิจนำเข้าหรือส่งออกของตัวเอง
- ที่ปรึกษาทางด้านธุรกิจระหว่างประเทศ ทำหน้าที่วินิจฉัยปัญหาทางธุรกิจ วางแผนกลยุทธ์ ออกแบบวิธีแก้ปัญหา ประเมินศักยภาพและผลลัพธ์การทำงานขององค์กร จัดทำแผนที่นำทางหรือสร้างเครื่องมือเพื่อการพัฒนากระบวนการทำงานหรือแก้ไขปัญหาให้กับธุรกิจ ตลอดจนการฝึกอบรมเพื่อสร้างทักษะใหม่หรือเพิ่มพูนทักษะให้กับบุคลากรในองค์กรระหว่างประเทศ
ทุกวันนี้ประเทศจีนกำลังเพิ่มกำลังการซื้อภายในประเทศแบบไม่หยุดพัก จีนถือเป็นตลาดการค้าใหญ่ของโลก ที่หลายๆ ประเทศไม่อาจละเลยที่จะมองข้าม ดังนั้นการศึกษาวิธีคิด พฤติกรรมผู้บริโภค กลยุทธ์การค้าที่จะเจาะตลาดเข้าสู่จีนนั้น ระเบียบการค้าที่เกี่ยวข้องของจีน เครื่องมือในการประกอบธุรกิจในประเทศจีนสมัยใหม่ จะทำให้ได้โอกาสการค้ากับจีนในอนาคตแบบมหาศาล เเละลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจ ถ้าสนใจด้านนี้สามารถเลือกเรียน สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ (มุ่งเน้นธุรกิจจีน) เรียนรู้แบบเจาะลึกธุรกิจและเศรษฐกิจภายในประเทศจีนแบบเชิงรุก วางแผน คิดวิเคราะห์ธุรกิจ เข้าใจวัฒนธรรม กฎหมาย และธรรมเนียมปฏิบัติต่างๆ เน้นการเจาะตลาดจีนแนวใหม่ ด้วยเครื่องมือดิจิทัลจีน และการค้าแบบ Online+Offline รู้ช่องทางการนำสินค้าไปขายในประเทศจีนหรือจะนำเข้าจากประเทศจีนมาขายที่ไทย และมีโอกาสศึกษาดูงานที่ประเทศจีนค่ะ
สายอาชีพที่เกี่ยวข้อง
- นักการตลาดจีน (China Marketer) ทำหน้าที่การวิเคราะห์โอกาสทิศทางการประกอบธุรกิจกับตลาดจีน การสร้างผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับสภาพตลาดจีน วางเเผนธุรกิจในด้านต่างๆ เช่น รูปแบบการกำหนดราคา ช่องทางจัดจำหน่าย การประชาสัมพันธ์ วางกลยุทธ์การตลาดระหว่างประเทศเพื่อเจาะสู่ตลาดจีน ทั้งเเบบ Offline เเละ Online
- นักธุรกิจด้านนำเข้าส่งออกจีน หรือ เทรดเดอร์จีน (China Export-Importer / China Trader) เป็นนักธุรกิจที่มองหาโอกาสในการนำเข้าส่งออกสินค้ากับประเทศจีน บริหารจัดการกระบวนการนำเข้าและส่งออกของสินค้า บริหารจัดการประสานงานติดต่อลูกค้า ดำเนินการเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งด้านพิธีการศุลกากร ขนส่ง เเละเอกสารอื่นๆ ตามระเบียบของการค้ากับประเทศจีน
- นักบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ(จีน) ทำหน้าที่บริหารจัดการธุรกิจข้ามชาติ การจัดตั้งองค์กร การดำเนินการประกอบธุรกิจในต่างประเทศ วิจัยวางเเผนธุรกิจโดยรวมในต่างประเทศ เช่น เเผนการตลาด เเผนงานด้านบุคลากร การสร้างความต่อเนื่องของธุรกิจ ซึ่งดำเนินการธุรกิจในประเทศจีนโดยเฉพาะ
- ที่ปรึกษาด้านธุรกิจการค้าจีน ทำหน้าที่ให้การปรึกษา การให้ข้อมูลเชิงวิเคราะห์ที่เกี่ยวกับการทำธุรกิจกับประเทศจีน ข้อมูลด้านระเบียบการค้าที่เกี่ยวข้องในการประกอบการธุรกิจของไทยเเละจีน
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เรียนรู้และสร้างความเข้าใจในระบบโลจิสติกส์ สามารถวิเคราะห์และวางแผนได้ มีการเตรียมความพร้อมในการสอบใบรับรองมาตราฐานคุณวุฒิวิชาชีพจากสมาคม TACBA เพื่อเป็นใบเบิกทางเข้าทำงานด้านโลจิสติกส์ พร้อมเครือข่ายด้านโลจิสติกส์ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น FLASH, Kerry Express, DHL และอีกมากมายที่จะทำให้ได้เรียนรู้จากตัวจริงขององค์กรระดับโลก นอกจากนี้ยังมีโอกาสได้งานทั้งในและต่างประเทศในฐานเงินเดือนเริ่มต้นที่สูงค่ะ
สายอาชีพที่เกี่ยวข้อง
- นักวางแผนจัดซื้อและจัดหาวัตถุดิบ ให้เพียงพอในการผลิตสินค้า ต้องจัดหาวัตถุดิบหรือรู้แหล่งจัดซื้อที่คุ้มค่ากับต้นทุน ควบคุมขั้นตอนการขนส่งและการเก็บรักษาอย่างปลอดภัย
- นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คือผู้วิเคราะห์ด้านคลังสินค้า การขนส่ง เพื่อลดต้นทุนให้ได้มากที่สุด พร้อมรับหน้าที่บริหารงานขนส่ง เพื่อให้สินค้าส่งถึงมือลูกค้าตรงตามกำหนด
- รับราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี กรมประมง กรมการขนส่งทางอากาศ กรมศุลกากร
สาขาวิชาการตลาด เรียนรู้การสร้างความรู้ทางการตลาด วิเคราะห์ตลาด การสร้างกลยุทธ์ และการวิจัยทางการตลาดโดยตรง ที่ส่งผลกับผู้บริโภคในปัจจุบันและอนาคต พร้อมสร้างหัวคิดการเป็นผู้ประกอบการด้านการตลาดอีกด้วย
สายอาชีพที่เกี่ยวข้อง
- นักวิจัยการตลาด อาชีพที่ต้องอยู่กับข้อมูล สถิติ หน้าที่หลักคือการวิเคราะห์ข้อมูล แนวโน้มการตลาดและเศรษฐกิจ สำรวจความพอใจของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์ และวิเคราะห์คู่แข่ง ข้อมูลที่ได้จากนักวิจัย จะนำมาปรับเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ โปรโมชั่น หรือ ราคา ที่ตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น ถ้าน้องๆ ชอบในงานวิจัย หรือการทำงานร่วมกับข้อมูล
- ผู้จัดการผลิตภัณฑ์และการส่งเสริมการตลาด มีหน้าที่วิเคราะห์ตลาดเพื่อรู้แนวทางในการนำสินค้านั้นเข้าสู่ตลาด ความเป็นไปได้ในอนาคต วิเคราะห์ผู้บริโภค คู่แข่ง และปัจจัยภายในและภายนอกที่จะส่งผลต่อสินค้าและบริการ
- ผู้จัดการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทำหน้าที่ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้ต้นทุนที่น้อยที่สุด เหมาะสมกับการใช้งานหรือประเภทของสินค้านั้นๆ
- ผู้จัดการด้านการขายและบริหารลูกค้ารายสำคัญ คือผู้ที่คอยเสนอซื้อหรือขายให้กับลูกค้ารายใหญ่ที่มีผลต่อการดำเนินงานของบริษัท มีข้อเสนอที่สมเหตุสมผลโดยต้องไม่ทำให้บริษัทเสียผลกำไร
สาขาวิชาการตลาดดิจิทัล หลักสูตรที่แรกที่มีมาตรฐานความรู้และทักษะด้านการตลาดดิจิทัลแบบเจาะลึก ทันสมัยเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าตลอดเวลาทั้ง การวางกลยุทธ์และแผนการตลาด การทำธุรกิจ E-Commerce และ Social Media พร้อมด้วยการเสริม ทักษะภาษาอังกฤษ การเงิน บัญชี และการบริหารจัดการธุรกิจ โดยได้รับความร่วมมือจากบริษัทดิจิทัลเอเจนซี่ชั้นนำในวงการ และ นักการตลาดตัวจริงมืออาชีพจากบริษัทชั้นนำ มาร่วมสอน เทคนิคและประสบการณ์จริงจากการทำงานให้กับนักศึกษาในบรรยากาศที่ สามารถพูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้แบบใกล้ชิด
สายอาชีพที่เกี่ยวข้อง
- นักการตลาด เจ้าหน้าที่ด้านการตลาดดิจิทัล
- นักออกแบบเนื้อหาและโฆษณาการตลาด ผู้สร้างสรรค์สื่อด้านการตลาดทางการโฆษณาที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย ทำให้เกิดยอดขายที่เพิ่มขึ้น
- นักวางกลยุทธ์แบรนด์ดิจิทัล การสร้างกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อให้แบรนด์เป็นที่จดจำและเกิดยอดขายที่เพิ่มขึ้น โดยเน้นการสร้างกลยุทธ์ทางดิจิทัลหรือออนไลน์เท่านั้น
- เจ้าหน้าที่บริหารงานลูกค้าสายธุรกิจโฆษณาและสื่อดิจิทัล ทำหน้าที่ตรวจเช็คบริหาร หรือวางแผนให้สื่อดิจิทัลเป็นไปตามที่ลูกค้ากำหนด
- นักวิเคราะห์และวางแผนข้อมูลการตลาดและผู้บริโภค วางแผนการตลาด โดยต้องคิดวิธีการโปรโมท การใช้กลยุทธ์ต่างๆ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าได้มากที่สุด และสามารถกลับมาซื้อสินค้าได้อีกครั้ง
สาขาวิชาการวางแผนการเงินและการลงทุน หลักสูตรการวางแผนการเงินและลงทุนที่แรกและที่เดียวในไทย ที่ได้รับการรองรับจากสมาคมนักวางแผนการเงินไทยและสถาบันการเงินชั้นนำ เจาะลึกการเงินและการลงทุนทุกรูปแบบ และทักษะการวางแผนการเงินรอบด้าน เช่น การวางแผนภาษีมรดก และการวางแผนเกษียณ สามารถสอบใบประกอบวิชาชีพด้านการเงินและการลงทุน CFP ได้ทันที เมื่อเรียนจบ
สายอาชีพที่เกี่ยวข้อง
- นักวางแผนการเงิน (CFP) ผู้ทำหน้าที่ให้คำแนะนำและวางแผนการเงินส่วนบุคคลที่ครอบคลุมครบทุกด้าน ได้แก่ การวางแผนการบริหารเงินสด การวางแผนการลงทุน การวางแผนการประกันชีวิต การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ การวางแผนภาษีและมรดก และการวางแผนการเงินเพื่อเป้าหมายเฉพาะ
- ที่ปรึกษาการเงิน (AFPT) ผู้ทำหน้าที่ให้คำแนะนำและคำปรึกษาที่เกี่ยวข้องกับด้านการวางแผนการลงทุน และ/หรือด้านการวางแผนการประกันชีวิตและการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ
- ผู้วางแผนการลงทุน (Investment Planner) ผู้ที่ให้คำแนะนำการลงทุนแก่นักลงทุนสามารถวางแผนประกอบการให้คำแนะนำการลงทุนแก่นักลงทุนที่เฉพาะเจาะจง และเหมาะกับข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์นักลงทุน
- นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ผู้วิเคราะห์ธุรกิจ งบการเงิน แนวโน้มการเติบโต เพื่อแนะนำและสร้างการตัดสินใจก่อนการลงทุนของนักลงทุน และทำให้นักลงทุนเข้าใจภาพรวมของบริษัทมากขึ้น
- นักวิเคราะห์การลงทุน ผู้วิเคราะห์การลงทุน ติดตามข่าวสาร อัปเดทสถานการณ์ต่างๆ ที่จะส่งผลต่อการลงทุนในปัจจุบันและอนาคต เพื่อให้คำแนะนำกับนักลงทุน
- นักลงทุน อาชีพที่มาแรงที่สุดในยุคนี้ คือการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ เช่น หุ้น คริปโต กองทุนรวม โดยใช้ความรู้ ความเข้าใจ และเงิน ในการลงทุน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่น่าพอใจ
สาขาวิชาการเงิน เรียนรู้หลักวิชาด้านการเงินแบบครอบคลุม หน้าที่ทางการเงิน แนวทางการใช้ข้อมูลทางการเงินเพื่อวิเคราะห์และวางแผนทางธุรกิจ โครงสร้างและการบริหารสถาบันการเงินและตลาดหลักทรัพย์ การประกันภัย หลักการลงทุน การวิเคราะห์และจัดการกลุ่มหลักทรัพย์ เข้าใจการใช้เครื่องมือทางการเงิน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาทางการเงินได้อย่างมืออาชีพ
สายอาชีพที่เกี่ยวข้อง
- ผู้อำนวยการฝ่ายความเสี่ยง วิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงด้านการเงิน สามารถวางแผนและกำหนดแนวทางบริหารให้เกิดความเสี่ยงน้อยที่สุด
- นักวิเคราะห์สินเชื่อ วิเคราะห์สินเชื่อพร้อมการประเมินและอนุมัติให้กับลูกค้า โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขขององค์กรนั้น เพื่อให้ได้กำไรและมีความเสี่ยงน้อยที่สุด
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย ดูแลและให้คำปรึกษาด้านกฎหมายภายในสถาบันการเงิน
- ผู้จัดการกองทุน ผู้ดูแลการลงทุนของลูกค้า โดยการบริหารเงินจากลูกค้าให้สามารถลงทุนในกองทุน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนตามที่ลูกค้าคาดหวัง
- นักลงทุนสัมพันธ์ ผู้ที่ทำหน้าที่สื่อสารข้อมูลของบริษัทกับบุคคลภายนอกและผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับบริษัท เช่น ผู้ถือหุ้น นักวิเคราะห์ นักลงทุน คู่ค้าทางธุรกิจหน่วยงานกำกับดูแล และสื่อมวลชน เป็นต้น
- เจ้าหน้าที่ประเมินราคาสินทรัพย์ ผู้ประเมินราคาสินทรัพย์ต่างๆ ทั้งแบบรูปธรรม เช่น บ้าน ที่ดิน อาคาร และแบบนามธรรม เช่น ลิขสิทธิ์ ตราสินค้า ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด